[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนถ่อนวิทยา
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

Link Banner














ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 28 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ค้นหาจาก google


  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ตะคอก ตะโกน ใส่เด็กบ่อยๆ พ่อแม่รู้ไหม ส่งผลเสียกับลูกแค่ไหน  VIEW : 409    
โดย 2459

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 118.174.114.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เวลา 04:18:20    ปักหมุดและแบ่งปัน

ตะคอก ตะโกน ใส่เด็กบ่อยๆ พ่อแม่รู้ไหม ส่งผลเสียกับลูกแค่ไหน
โดย Agil Tonjoo
ทบทวนบทความโดย ทีม Hello คุณหมอ
ตะคอก ตะโกน ใส่เด็กบ่อยๆ พ่อแม่รู้ไหม ส่งผลเสียกับลูกแค่ไหน
คุณเคยเผลอตัว ตะคอก ตะโกน ใส่ผู้อื่นบ้างหรือไม่ แล้วรู้หรือไม่ว่าการทำเช่นนั้นบ่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ที่รับฟัง ผู้ฟังอาจไม่ได้ฟังแล้วจบไปเหมือนเช่นคนพูด บทความนี้โดย Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับผลกระทบของการตะคอก ตะโกน ใส่เด็ก รวมถึงวิธีหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดีเหล่านั้น
ทำไมพ่อแม่ถึงต้อง ตะคอก
เป็นอาการปกติของคนเราที่เมื่อรู้สึกโกรธ โมโห ไม่พอใจ การแสดงออกทางอารมณ์จึงเป็นไปในลักษณะที่รุนแรง โทนเสียง และน้ำเสียงที่ใช้พูดก็จะเริ่มดังขึ้น เสียงสูงขึ้น ซึ่งนั่นไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาแต่อย่างใดเลย การที่ผู้ปกครองแสดงออกถึงพฤติกรรมของการตะคอก ตะโกน หรือแผดเสียงใส่เด็ก ๆ ก็เป็นเพียงการทำให้เด็กเงียบและสงบลงได้แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่สาเหตุของปัญหานั้นก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ยิ่งไปกว่านั้น เด็กจะเรียนรู้พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ปกครอง หากคุณพ่อคุณแม่โมโหและตะคอกใส่ลูกบ่อย ๆ ก็มีแนวโน้มที่เด็กจะจำแล้วนำไปปฏิบัติกับผู้อื่น ลูกอาจโตมาเป็นคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ขี้โมโห และชอบหงุดหงิดใส่ผู้อื่น เพราะจดจำมาจากการที่พ่อแม่ทำใส่ตนเองที่บ้านจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
ตะคอก ใส่เด็กบ่อย ๆ ส่งผลเสียอย่างไร
การตะคอกและตะโกนใส่ลูกบ่อย ๆ มีผลกระทบต่อเด็ก ทั้งทางร่างกาย สภาพจิตใจ รวมถึงสถานภาพความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เปลี่ยนไป ดังนี้
ทางร่างกาย
พฤติกรรมก้าวร้าว
จากงานวิจัยค้นพบว่า การกระทำของผู้ปกครองในช่วงที่มีอารมณ์โกรธ หรือไม่พอใจ เช่น การตะโกนเสียงดังใส่ลูก เป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำให้พฤติกรรมของเด็กจะเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี หรือก้าวร้าว
มีผลต่อสมอง
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่กล่าวถึงการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) หรือ MRI พบว่า สมองของผู้ที่มีเหตุการณ์เลวร้ายในอดีต มีความแตกต่างกับผู้ที่ไม่มีเหตุการณ์อันน่าสะเทือนใจ โดยมีความแตกต่างกันในส่วนของสมองที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการประมวลผลของเสียงและภาษา
โรคซึมเศร้า
มีงานวิจัยที่ทดลองกับเด็กอายุ 13 ปี พบว่า ความเจ็บปวด ความโกรธ ความกลัว และความเสียใจ ที่มาจากการตะคอกของผู้ปกครองที่ปฏิบัติต่อเด็กในแต่ละวัน รวมถึงการละเมิดทางวาจาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า สามารถทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า 
ทางจิตใจ
การแผดเสียงดังด้วยอารมณ์ที่ไม่ดีใส่เด็ก ๆ บ่อยครั้ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในจิตใจและสมอง จากการวิจัยพบว่ามีผลต่อการทำงานของสมองส่วนอะมิกดะลา (Amygdala) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำงานทางด้านอารมณ์ และเพิ่มฮอร์โมนความเครียดเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและอื่น ๆ ก่อให้เกิดโรคเครียด โรคซึมเศร้า มีอาการตื่นตระหนกทุกครั้งที่ได้ยินเสียงดัง
นอกจากนี้ การตะโกนบ่อยครั้งยังเป็นพฤติกรรมฝังใจของเด็ก แม้เวลาจะผ่านไปนานแล้ว แต่สมองยังคงเชื่อมโยงตามประสบการณ์ในอดีตที่เคยเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์ที่คล้ายกับตอนที่พ่อแม่เคยตะคอกใส่ตอนที่ยังเล็ก บุคคลนั้นก็ยังคงได้ยินเสียงพ่อแม่ตะโกนใส่อยู่ในหัว ถึงแม้ว่าผู้ปกครองจะไม่ได้อยู่ที่นั่นด้วยก็ตาม
สถานภาพความสัมพันธ์
หากคุณเผลอตัวตะคอกและตะโกนใส่ลูกเป็นประจำ คุณอาจสังเกตพบพฤติกรรมเหล่านี้ระหว่างตัวคุณและลูกได้
เด็ก ๆ ตะโกนใส่กัน เหมือนเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมที่พบเห็นมาจากพ่อกับแม่
เด็กตะคอกกลับใส่พ่อหรือแม่เวลาที่ทะเลาะหรือมีเรื่องไม่เข้าใจกัน
ทั้งผู้ปกครองและเด็กเริ่มตีตัวออกห่างกัน 
เด็กให้ความสำคัญกับคนอื่นมากกว่าคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อและแม่
วิธีหยุดตะคอกใส่ลูกเมื่อรู้สึกโกรธ
ไม่ตะคอก
วิธีนี้คือวิธีที่สำคัญ จะมีวิธีใดในการหยุดการตะคอกได้ดีกว่าการไม่ตะคอก ดร.ไอลีน เคเนดี้ มัวร์ (Eileen Kennedy-Moore, Ph.D., ) ที่ปรึกษาผู้ปกครอง และนักเขียนที่มีผลงานเขียนเรื่อง A Kids’ Guide to Making and Keeping Friends ให้คำแนะนำว่า ทุกครั้งที่ลูกทำผิด หรือทำในสิ่งต้องห้าม หรือฝ่าฝืนคำสั่ง ให้เดินไปพูดกับเด็กโดยตรง และพูดด้วยน้ำเสียงปกติ ไม่กระโชกโฮกฮาก ไม่ควรตะโกนจากที่ไกล ๆ
รู้อารมณ์ตนเอง
ก่อนที่คุณจะเดินไปพูดกับลูกด้วยน้ำเสียงไม่พอใจ ให้ตั้งสติ พาตัวเองออกจากสถานที่ตรงนั้นสักครู่เพื่อสงบสติอารมณ์โกรธของตนเอง หายใจเข้าลึก ๆ ทำใจเย็นลง แล้วจึงกลับไปพูดกับลูกด้วยโทนเสียงปกติ
ใช้การอธิบาย
ในบางครั้งที่คุณโกรธ เด็ก ๆ สามารถที่จะรับรู้ถึงอากัปกิริยาที่เปลี่ยนไปของผู้ปกครองได้ ในระหว่างนี้ให้ใช้การพูดคุยแบบปกติ อธิบายว่าตอนนี้กำลังโกรธ โกรธเพราะอะไร ลูกทำผิดอย่างไร เด็กสามารถที่จะเรียนรู้พฤติกรรมเหล่านี้จากผู้ปกครอง และรู้จักที่จะใช้เหตุผลในการพูดคุยมากกว่าการระเบิดอารมณ์ 
ระวังคำพูด
ในช่วงเวลาที่อารมณ์กำลังปะทุไปด้วยความขุ่นเคืองนั้น คำพูดที่หลุดออกมามักจะเป็นไปในทางที่เสียดสีให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่ คำหยาบ คำแช่ง ต่าง ๆ นานา ผู้ปกครองต้องระมัดระวังการกล่าวคำที่ไม่ดีเหล่านี้ พยายามเลือกใช้คำที่สื่อถึงอารมณ์ความรู้สึก ค่อย ๆ พูด ด้วยความใจเย็น อย่าโมโหจนกระทั่งขาดสติและพูดคำที่รุนแรง เพราะคำพูดบางคำพูดอาจติดอยู่ในใจของผู้ฟังไปอีกนาน
ใช้ความใกล้ชิด
บางครั้งเราอาจไม่ได้ตะโกนเพราะโมโหเสมอไป แต่เป็นการตะโกนเพื่อต้องการให้อีกฝ่ายทำตามคำสั่ง ลองเปลี่ยนจากการตะโกนจากที่ไกล ๆ เป็นการเดินเข้ามาหาเด็กแล้วบอกสิ่งที่ต้องการ เช่น หยิบถุงใบนั้นมาหาแม่หน่อยได้ไหม
ทำความเข้าใจ
ผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจทั้งต่อตนเอง และทำความเข้าใจกับลูก ทำความเข้าใจกับตนเองว่าการกระทำเช่นนี้ไม่สมควร และทำความเข้าใจกับลูกว่าสิ่งที่ลูกทำผิดไปทำให้คุณโกรธอย่างไร ขอโทษหากใช้คำพูดรุนแรง รวมถึงเปิดโอกาสที่จะรับฟังข้อเท็จจริงจากเด็ก ให้เด็กได้มีโอกาสพูดเพื่อที่จะได้ความกระจ่างมากขึ้น ไม่ควรเป็นฝ่ายพูดใส่เด็กแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ทั้งสองฝ่ายควรผลัดกันพูดและผลัดกันรับฟังซึ่งกันและกัน
อ่านเพิ่มเติม:
ลูกถูก ครูทำโทษ พ่อแม่มีวิธีเยียวยาลูกอย่างไรบ้าง
เด็กติดเกม พ่อแม่หนักใจใช่ไหม เมื่อลูกมีพฤติกรรมติดเกม
โรคดื้อและต่อต้าน พ่อแม่โปรดสังเกต! ลูกแค่ดื้อ หรือเป็นโรคดื้อและต่อต้าน
Share now :

แทงบอลฟรี ไม่ต้องฝาก ถอนได้ 2020

กับเว็บเกมส์ UFABET อันดับ 1 ในเอเชีย