[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนถ่อนวิทยา
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

Link Banner














ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 28 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ค้นหาจาก google

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียน ถ่อนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21

เจ้าของผลงาน : นายกุลชาติ ชลเทพ
ศุกร์์ ที่ 15 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557
เข้าชม : 1677    จำนวนการดาวน์โหลด : 976 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 2 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
 
การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนถ่อนวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21  ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนถ่อนวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21  2)  ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนถ่อนวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21  3)  ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนถ่อนวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21  4)  ประเมินด้านผลที่ได้รับของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนถ่อนวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21  และ  5)  ประเมินด้านผลกระทบของโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนถ่อนวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21  โดยประยุกต์ใช้รูปแบบประเมินของซิปป์  (CIPP Model) 
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน  รวมทั้งสิ้น  จำนวน 400 คน ประกอบด้วย  กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 15 คน  ครูผู้สอน  จำนวน 23 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  นักเรียน  จำนวน 181 คน ได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่และมอร์แกน  (Krejcie & Morgan)  สุ่มตัวอย่างนักเรียนโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  กำหนดเงื่อนไขในการเลือก คือ นักเรียนสามารถตอบแบบสอบถามด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์  และผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน 181 คน  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากันกับขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน  สุ่มตัวอย่างผู้ปกครองแบบลูกโซ่  (Chain Sampling)  โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนเลือกผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 1 คน โดยไม่ซ้ำคนเดิมเป็นกลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating Scale)  มีจำนวน  2  ฉบับ  มีค่าความเชื่อมั่นรายฉบับเท่ากับ  0.94  และ  0.90  ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป  คำนวณหาค่าร้อยละ  ค่าความถี่  ค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษา  พบว่า
                                1.  ด้านสภาพแวดล้อม  กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูผู้สอน  และผู้ปกครองนักเรียน  เห็นว่า โดยรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด  สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาของโรงเรียน และความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน  รองลงมา  คือ  ห้องสมุดมีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาด้านการอ่านของนักเรียน  และ  การพัฒนาห้องสมุดสามารถช่วยให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและรักการศึกษาค้นคว้า  ตามลำดับ  และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนจัดห้องสมุดเป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศที่ทันสมัยแก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน
                2.  ด้านปัจจัยเบื้องต้น  กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน  เห็นว่า โดยรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด  สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ  ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาห้องสมุด  รองลงมา  คือ  ทรัพยากรสารสนเทศ เช่น สิ่งพิมพ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มีปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ  และ  ห้องสมุดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและมีสภาพดี เหมาะสมต่อการให้บริการแก่นักเรียน ครู และชุมชน  ตามลำดับ  และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ห้องสมุดมีอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อเพื่อการสืบค้นข้อมูลอย่างเพียงพอและเหมาะสม
                3.  ด้านกระบวนการดำเนินงาน  กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูผู้สอน  และผู้ปกครองนักเรียน  เห็นว่า โดยรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด  สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  คือ ได้ดำเนินกิจกรรมที่กำหนดในโครงการตามขั้นตอนทุกกิจกรรม  รองลงมา  คือ  ก่อนการดำเนินงานมีการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาห้องสมุด  และ  มีการนิเทศให้คำแนะนำช่วยเหลือการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินโครงการ  ตามลำดับ  และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ  มีการวิเคราะห์และนำผลการประเมินไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง
                4.  ด้านผลที่ได้รับ  กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูผู้สอน  นักเรียน  และผู้ปกครองนักเรียน  เห็นว่า โดยรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด  สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  คือ  นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน  รองลงมา  คือ  นักเรียนสามารถสรุปความรู้ที่ได้จากการอ่านและการเรียนรู้บันทึกเป็นองค์ความรู้ได้  และ  มีมุมความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นและเหมาะสม  ตามลำดับ  และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ  นักเรียนมีทักษะในการเข้าใช้บริการสืบค้นความรู้จากหนังสือสารานุกรมไทยและแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
                5.  ด้านผลกระทบ  กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูผู้สอน  นักเรียน  และผู้ปกครองนักเรียน  เห็นว่า โดยรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด  สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  คือ  โรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน  มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมากขึ้น  รองลงมา  คือผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น  และ  นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการและบริหารเวลา  ตามลำดับ  และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ  นักเรียนมีพัฒนาการทางสติปัญญาและมีการคิดวิเคราะห์มากขึ้น
โดยสรุปโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนถ่อนวิทยา ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ  จึงสมควรดำเนินการต่อไป  ทั้งนี้เพื่อทำให้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของโรงเรียน  รองรับการพัฒนานักเรียน  คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนถ่อนวิทยาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหา  ใช้การอ่านเพื่อพัฒนาตนเองและเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก  สมดังเจตนารมณ์ในการจัดการศึกษาของชาติต่อไป  


ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT รายวิชาสุขศึกษา เพิ่มเติม (พ33201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4/มี.ค./2558
      การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง บรรยากาศของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 9/พ.ย./2557
      บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง บรรยากาศของโลก เล่มที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศ 6/พ.ย./2557
      การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่านของโรงเรียน ถ่อนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 15/ส.ค./2557
      การพัฒนาทักษะกีฬาวอลเลย์บอลโดยใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอล รายวิชา วอลเลย์บอล 1 พ 41201 มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังลิ้นฟ้าวิทยาคม 29/มิ.ย./2554


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ thonwittaya@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป